77 สาวงามกุลสตรีศรีรัตนโกสินทร์ โชว์ชุดผ้าไทยร่วมสมัย-ผ้าไทยท้องถิ่น สุดอลังการ ในงาน “ใต้ร่มพระบารมี 236 ปี กรุงรัตนโกสินทร์”

กุลสตรีศรีรัตนโกสินทร์ 2561

77 สาวงามกุลสตรีศรีรัตนโกสินทร์ โชว์ชุดผ้าไทยร่วมสมัย-ผ้าไทยท้องถิ่น สุดอลังการ
ในงาน ใต้ร่มพระบารมี 236 ปี กรุงรัตนโกสินทร์
ส่งเสริมแต่งกายผ้าไทย-สืบสานความเป็นไทย กระตุ้นสร้างรายได้สู่ชุมชน

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับหน่วยงานรัฐภาคเอกชน และภาคประชาชน จัดมหกรรมวัฒนธรรม กำนดจัดงาน “ใต้ร่มพระบารมี 236 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” ขึ้นระหว่างวันที่ วันที่ 21–25 เม.ย. 2561 รวม 5 วัน โดยในส่วนสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดกิจกรรม กุลสตรีศรีรัตนโกสินทร์ ๒๕๖๑ ได้แก่ การแสดงแฟชั่นโชว์เครื่องแต่งกายชุดไทยในรัชสมัย “งามอาภรณ์ งามศิลป์ งามแผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” ในวันที่ 21 เม.ย. 2561 เวลา 20.00 น. ณ โรงละครแห่งชาติ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้การแต่งกายชุดไทย ร. ๑ – ร. ๑๐
และแฟชั่นโชว์ชุดผ้าไทยร่วมสมัย ชุด “งามวิจิตรภูษา ภัสตราภรณ์ อัตลักษณ์ไทย อัตลักษณ์ถิ่น” ในวันที่ 22 เม.ย.2561 เวลา 19.00 น. ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ซึ่งถือว่าได้รับความสนใจจากประชาอย่างมาก เนื่องจากเป็นการแสดงแบบชุดแต่งกายผ้าไทยร่วมสมัย ที่กุลสตรี ๗๗ คน/จังหวัด จะต้องสวมใส่ชุดผ้าไทยจากท้องถิ่น/จังหวัดของตนเอง ที่นำมาตัดเย็บ ออกแบบ และถ่ายทอดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมการแต่งกายจากผ้าไทยท้องถิ่น ให้มีความร่วมสมัยและสวมใส่ได้จริง
โดยกิจกรรมนี้เริ่มขึ้นต่อเนื่องตลอดวัน ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ที่สาวงามต้องสวมชุดผ้าไทยเพื่อนำเสนอชุดแต่งกายผ้าไทยร่วมสมัย ต่อคณะกรรมฯ ได้พิจารณาอย่างระเอียด ถึงแนวคิด แรงบันดาลใจ และวิธีการตัดเย็บ ทั้งนี้ มีผลงานที่โดดเด่น เข้ารอบภาคละจำนวน ๓ ผลงาน ๔ ภาค รวม ๑๒ ผลงาน
คณะกรรมการจะพิจารณาการนำผ้าไทยในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับบุคลิกภาพของผู้สวมใส่เป็นหลักรวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ และความสวยงามในการออกแบบและการตัดเย็บ สมกับเป็นต้นแบบชุดผ้าไทยร่วมสมัย ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
๑. การนำวัสดุผ้าไทยในท้องถิ่นที่แสดงถึงเอกลักษณ์/อัตลักษณ์ของจังหวัดตนเอง
มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องแต่งกายได้อย่างร่วมสมัย ๒๕ คะแนน
๒. ความสวยงามและแนวคิดในการออกแบบเครื่องแต่งกาย ๒๕ คะแนน
๓. ความสวยงาม ลงตัวและความกลมกลืน เมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมสวมใส่ ๒๕ คะแนน
๔. ความประณีตในการตัดเย็บ ๒๕ คะแนน
และกรรมการได้ ตัดสินมอบรางวัลชุดผ้าไทยร่วมสมัยดีเด่น ๔ ภาค ให้แก่

๑.ชุดแต่งกายผ้าไทยร่วมสมัยดีเด่น (ภาคเหนือ) เงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมสายสะพาย
(นางสาวณิชาภัทร พนะสัน หมายเลข ๕๙ สวจ.น่าน ชุดผ้าไทยจากเส้นใยข่าและใยฝ้าย)
๒. ชุดแต่งกายผ้าไทยร่วมสมัยดีเด่น (ภาคกลาง) เงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมสายสะพาย
(นางสาวธัชนก กังนิกร หมายเลข ๖๓ จ.สิงห์บุรี ชุด ผ้าไหมไทยด้วยเทคนิคสมัยใหม่)
๓. ชุดแต่งกายผ้าไทยร่วมสมัยดีเด่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมสายสะพาย (นางสาวมณิการ์ ทิพเนตร หมายเลข ๕๓ จ.หนองบัวลำภู ชุดผ้าฝ้ายย้อมคราม)

๔. ชุดแต่งกายผ้าไทยร่วมสมัยดีเด่น (ภาคใต้) เงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมสายสะพาย
(นางสาวพีรชาดา ขุนรักษ์ หมายเลข ๑๑ จ.ยะลา ชุด ผ้าบาติกชายแดนใต้)
นอกจากนี้ ยังมีรางวัลชุดผ้าไทยยอดเยี่ยม ที่ให้ประชาชนได้ เข้าไปร่วมชมผลงานการออกแบบของสาวงามทั้ง 77 คน ใน www.m-culture.go.th ซึ่งผลการตัดสิน ได้แก่นางสาวกิตติยา ภูมิสูง หมายเลข75 จ.สุรินทร์ ชุดผ้าไหมลายโฮล

การจัดกิจกรรมแฟชั่นโชว์และการประกวดครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการออกแบบชุดผ้าไทยร่วมสมัยของจังหวัดต่าง ๆ ให้ประชาชนได้ร่วมชมแล้ว ภายในงานตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๑ ยังมีการแสดงสินค้า ผ้าพื้นเมือง ของดี ของแต่ละจังหวัด ให้ทุกคนที่มาร่วมงานได้ช้อป ชิม ชิว อย่างมากกมายด้วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนวัฒนธรรม ๑๗๖๕

แชร์