ทำเนียบศิลปิน

ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร

Narongrit Dhamabutra

สาขา
ดนตรี
ที่อยู่ปัจจุบัน
73/6 ซ.อารีย์สัมพันธ์ 3 ถ.พหลโยธิน สามเสนใน พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์02-218-4613, 086-391-2173
การศึกษา
  • การศึกษาบัณฑิต (สาขาดุริยางคศาสตร์สากล) ปี ๒๕๓๔ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • Master of Fine Arts [Composition] ปี ๒๕๔๕ Illinois State University, USA
  • Doctorate Candidate in Musical Arts [Composition] University of Missouri, USA
รางวัลที่เคยได้รับ
  • 2008ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็น “ศิลปินศิลปาธร” (ศิลปินร่วมสมัยดีเด่น) สาขาดนตรี ประจำปี พ.ศ. 2551 จากกระทรวงวัฒนธรรม
  • 2007บรางวัลเพลงบรรเลงยอดเยี่ยมจาก “คม ชัด ลึก อวอร์ด” พ.ศ.2550
ผลงานที่ผ่านมา
  • 2020โหมโรง “Royal Celebration” (Royal Celebration Overture) สำหรับวงออร์เคสตรา เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดยวง Royal Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย วานิช โปตะวนิช ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรกฎาคม พ.ศ. 2563
  • 2020“Three Spirits of ASEAN” สำหรับแซกโซโฟนและเปียโน จัดทำเป็นซีดีชื่อ “AUSTRALIAN THAIS” -บรรเลงโดย HD Duo จัดทำโดย Cala signum พ.ศ. 2564
  • 2019ซินโฟเนียอยุธยา (Sinfonia Ayutthaya) ฉบับแก้ไข 2562 ซิมโฟนิกโพเอ็ม เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย Thailand Philharmonic Orchestra อำนวยเพลงโดย ภมรพรรณ โกมลภมร ณ มหิดลสิทธาคาร (Prince Mahidol Hall) มหาวิทยาลัยมหิดล กรกฎาคม 2562
  • 2017“ภูมิพลอดุลยเดชมหาราชา” (“Bhumibol Adulyadej Maharaja”) ซิมโฟนีสำหรับวงออร์เคสตรา นักร้องโซปราโนเดี่ยว นักร้องบาริโทนเดี่ยว และนักร้องประสานเสียง เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงในคอนเสิร์ต “คีตราชา จุฬาฯ ถวายราชสดุดี” บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรกฎาคม พ.ศ.2560
  • 2016ภาพแห่งสามวัด (The Portrait of Three Temples) สำหรับวงออร์เคสตราเครื่องสาย เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย Sunrise Orchestra ณ Slovak Radio ประเทศสโลวาเกีย และ University of Music and Performing Arts Vienna ประเทศออสเตรีย พฤศจิกายน พ.ศ.2559 อำนวยเพลงโดย พูนโชค กุหลาบวงษ์
  • 2016โหมโรงภัทรมหาราชา (Bhattara Maharaja Overture) สำหรับวงออร์เคสตราและนักร้องประสานเสียง เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดยวงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา (Princess Galyani Vadhana Institute of Music Youth Orchestra) ร่วมด้วยนักดนตรีจากวงดุริยางค์ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และกรมศิลปากร อำนวยเพลงโดย Norman Huynh ผู้อำนวยเพลงชาวเวียดนาม-อเมริกัน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มกราคม พ.ศ.2560
  • 2015“Le pas de mon Père” (เดินตามรอยเท้าพ่อ) เป็นซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงออร์เคสตราและนักร้องประสานเสียง เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดยนรอรรถ จันทร์กล่ำ เนื่องในคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ (60 พรรษา) -บรรเลงโดยวง Royal Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดยวานิช โปตะวนิช เนื่องในคอนเสิร์ต “ราชสดุดี – อัครศิลปิน” ธันวาคม พ.ศ.2559
  • 2013เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม (Piano Concerto of Siam) สำหรับเปียโนและวงออร์เคสตราเครื่องสาย เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงเดี่ยวโดย ณัชชา พันธุ์เจริญ ร่วมกับวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ กรกฎาคม พ.ศ. 2556 -บันทึกเสียงในชื่อชุด “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” โดย สภาวิจัยแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
  • 2012-2013ประสานเสียงสำเนียงระฆัง (The Harmony of Chimes) เป็นซิมโฟนีสำหรับเครื่องดนตรีอาเซียนและวงออร์เคสตรา เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดยนักดนตรีอาเซียน 5 ชาติ ร่วมกับ Royal Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Shardad Rohani ผู้อำนวยเพลงชาวอิหร่าน-อเมริกัน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรกฎาคม พ.ศ.2558 -จัดทำเป็นดีวีดี “The Harmony of Chimes” สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • 2011นัมมทา (Narmada) คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตราเครื่องสาย เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงครั้งแรกโดย รามสูร สีตลายัน ร่วมกับวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ ณ หอแสดงดนตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรกฎาคม พ.ศ.2554 -บันทึกเสียงในชื่อชุด “บทเพลงสำหรับวงออร์เคสตรา ชุดที่ 1” ประพันธ์โดย ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร
  • 2011แสงจันทร์ (Moonlight) สำหรับเดี่ยวเปียโนและวงออร์เคสตราเครื่องสาย. เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย Sunrise Orchestra ณ St. Scholastica’s College ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีอุษา นภาวรรณ เดี่ยวเปียโน และอำนวยเพลงโดย พูนโชค กุหลาบวงษ์
  • 2010อรรถาธิบายและบทวิเคราะห์บทเพลงที่ประพันธ์โดย ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2009การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2008จาบัลย์ สำหรับวงเชมเบอร์ (Jabalaya) เพื่อร่วมไว้อาลัยจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย New York New Music Ensemble ใน Thailand International Composition Festival กรกฏาคม พ.ศ.2551
  • 2008คอนแชร์โตเครื่องคู่สำหรับระนาดเอก ระนาดทุ้ม และวงออร์เคสตรา (Double Concerto for Ranad-dk, ranad-toom and Orchestra)
  • 2008ถวายปฏิญญา (Pledge to HRH Princess Galyani Vadhana) เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บันทึกเสียงในชื่อชุด “ประโคมเพลง ประเลงถวาย” โดยสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กันยายน พ.ศ.2551 -บรรเลงโดยวงซิมโฟนีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน พ.ศ.2551 และออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2552 -บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พฤศจิกายน พ.ศ.2551 -บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ ณ เวทีท้องสนามหลวง ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พฤศจิกายน พ.ศ.2551 -เผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในรายการ “ดนตรีกวีศิลป์” เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2551
  • 2006คอนแชร์โตสังคีตมงคล สำหรับไวโอลินและวงออร์เคสตรา (Concerto Sankitamankala for Violin and Concerto) เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย Karin-Regina Florey นักไวโอลินชาวออสเตรีย ร่วมกับ Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย พลเรือตรีวีระพันธ์ วอกลาง ศิลปินแห่งชาติ กรกฎาคม พ.ศ.2550
  • 2005ซิมโฟนีหมายเลข 2 ซินโฟเนียสุวรรณภูมิ (Sinfonia Suvarnabhumi) โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสถานที่ เหตุการณ์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับดินแดนสุวรรณภูมิ ผสมผสานกับเทคนิค ดนตรีคลาสสิกร่วมสมัย เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย National Symphony Orchestra of Thailand อำนวยเพลงโดย วานิช โปตะวนิช ในเทศกาลดนตรี The World New Music Festival and Conference 2005 (The 25th Festival of the Asian Composer League) กรุงเทพมหานคร มีนาคม พ.ศ.2548 -บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พฤศจิกายน พ.ศ.2548
  • 2002ซิมโฟนีบทนี้เป็นซิมโฟนีบทแรก ซิมโฟนีแห่งสกลจักรวาล (Symphony of the Spheres) บรรยายถึงความลึกลับของระบบสุริยะจักรวาลตามความเชื่อของกรีกโบราณ เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย ชูวิทย์ ยุระยง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสวันพระบรมสมภพครบ 150 ปี ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พฤศจิกายน พ.ศ.2546
  • 2001ซิกเอนิกมาพอร์เทรตส์ (Six Enigma Portraits) สำหรับวงสตริงควอเท็ต (String quartet) เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย Bangkok String Quartet มีนาคม พ.ศ.2544 -บรรเลงโดย Ensemble Kochi กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546
  • 1999คอนแชร์โตมหาราชา (Concerto Maharaja) สำหรับระนาดเอกและวงออร์เคสตรา เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงเดี่ยวระนาดเอกโดยถาวร ศรีผ่อง ร่วมกับ Japan Shinsei Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Naohiro Totsuka ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตุลาคม พ.ศ.2542 ในโอกาสนี้มงกุฎราชกุมารนารุฮิโตแห่งญี่ปุ่นได้เสด็จทอดพระเนตรด้วย -บรรเลงเดี่ยวระนาดเอกโดยถาวร ศรีผ่อง ร่วมกับวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย พันเอกชูชาติ พิทักษากร ศิลปินแห่งชาติ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พฤศจิกายน พ.ศ.2542 -บรรเลงเดี่ยวระนาดเอกโดยถาวร ศรีผ่อง ร่วมกับ Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Shardad Rohani ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย พฤษภาคม พ.ศ.2544
  • 1997ไตร (Tri) สำหรับไวโอลินและเปียโน เป็นการดัดแปลงบทเพลง ภวังค์ สำหรับระนาดเอก และวงออร์เคสตรา เพื่อสำหรับบรรเลงโดยไวโอลินและเปียโน เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงในเทศกาลดนตรีนานาชาติ Sendai Asian Music Festival ’98 ณ นครเซนได ประเทศญี่ปุ่น มกราคม พ.ศ.2541 -บันทึกเสียงในชื่อชุด “ไตร” โดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ (ไวโอลิน) และ Kit Young (เปียโน)
  • 1996ซินโฟเนียจักรี (Sinfonia Chakri) ซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงออร์เคสตรา เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย John Georgiadis ผู้อำนวยเพลงชาวอังกฤษ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย พฤษภาคม พ.ศ.2539 -บรรเลงโดย Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Hikotaro Yazaki ผู้อำนวยเพลงชาวญี่ปุ่น ณ หอประชุมวิเทศสโมสร กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2545 -บรรเลงโดย Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Hikotaro Yazaki ณ Tokyo Opera City Concert Hall: Takemitsu Memorial กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สิงหาคม พ.ศ.2545 เนื่องในโอกาสที่วงได้รับเชิญให้ไปแสดงในงาน Asia Orchestra Week 2002 -บรรเลงโดย SSMS Orchestra อำนวยเพลงโดย Hikotaro Yazaki ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมษายน พ.ศ.2560
  • 1995ซินโฟเนียอยุธยา (Sinfonia Ayutthaya) ซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงออร์เคสตรา เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย สิทธิชัย เพ็งเจริญ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธันวาคม พ.ศ.2539
  • 1995พุทธชาด (Bhudhachat) สำหรับฟลูต กีต้าร์ และเปียโน การเผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย Kazuhito Yamashita นักกีตาร์ระดับโลกชาวญี่ปุ่น เมษายน พ.ศ.2538 -บรรเลงในคอนเสิร์ต The Bangkok Music Festival’95 โดยดัดแปลงให้บรรเลงด้วยฟลูต เชลโล และเปียโน ธันวาคม พ.ศ.2538
  • 1994ภวังค์ (Bhawangkha) สำหรับระนาดเอกและวงออร์เคสตรา เป็นคอนแชร์โต้สำหรับระนาดเอกและวงออร์เคสตราบทแรกของณรงค์ฤทธิ์ เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงเดี่ยวระนาดเอกโดยถาวร ศรีผ่อง ร่วมกับ Hiroshima Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Naohiro Totsuka ผู้อำนวยเพลงชาวญี่ปุ่น ในงานเทศกาลศิลปะเฉลิมฉลองพิธีเปิดกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 12 ณ นครฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น สิงหาคม พ.ศ.2537 -บรรเลงเดี่ยวระนาดเอกโดยถาวร ศรีผ่อง ร่วมกับ วงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย Isao Matsushita ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตุลาคม พ.ศ.2537 -บรรเลงเดี่ยวระนาดเอกโดยถาวร ศรีผ่อง ร่วมกับ Ensemble Stella Nova อำนวยเพลงโดย Isao Matsushita ในงานคอนเสิร์ต “Sogakudo” Asian Traditional/Asian Modern ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตุลาคม พ.ศ.2540
  • 1993คอนแชร์โตสำหรับวงออร์เคสตรา (Concerto for Orchestra) บทประพันธ์นี้เป็นคอนแชร์โตสำหรับวงออร์เคสตรา ที่ได้รับอิทธิพลจากคอนแชร์โตของดนตรีตะวันตกในศตวรรษที่ 18 ผสมผสานกับสำเนียงดนตรี แบบไทย เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย Hiroshima Symphony Orchestra ในเทศกาลดนตรีนานาชาติ “Hiroshima Hot Wave” อำนวยเพลงโดย Yip Wing-Sie ผู้อำนวยเพลงชาวจีน ณ นครฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ตุลาคม พ.ศ.2536 -บรรเลงโดย Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Timm Tzschaschel ผู้อำนวยเพลงชาวเยอรมัน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน พ.ศ.2536
  • 1992ซินโฟเนียจามจุรี (Sinfonia Jamjuree) -เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Symphony Orchestra) อำนวยเพลงโดยบรูซ แกสตัน ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนาคม พ.ศ.2535
  • 1991จักร (Chakra) ผลงานการประพันธ์เพลงสำหรับคลาริเน็ต ไวโอลิน และเปียโน เป็นผลงานในรูปแบบดนตรีร่วมสมัย เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย Verdehr Trio ณ Wharton Center รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา มิถุนายน พ.ศ.2534 -บรรเลงโดย Seoul University Trio ในเทศกาลดนตรี Asian Contemporary Music’92 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี กันยายน พ.ศ.2535 -บรรเลงโดย Kochi Ensemble ในเทศกาลดนตรี Musicarama’92 ณ Academy for the Performing Arts ฮ่องกง ประเทศจีน ตุลาคม พ.ศ.2535 -บรรเลงโดย The Zelanian Ensemble ในเทศกาลดนตรี Asia Pacific Festival ประเทศนิวซีแลนด์ ธันวาคม พ.ศ.2535 -บรรเลงโดย Verdehr Trio ณ Merkin Hall นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา มกราคม พ.ศ.2536 -บรรเลงโดย Verdehr Trio ณ IRCAM Centre Georges Pompidou กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีนาคม พ.ศ.2536 -บรรเลงในคอนเสิร์ต Contemporary Music Project’94 นครฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น มิถุนายน พ.ศ.2537
  • 1989ธรรมจักร (Dhamachakra) - เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ บรรเลงโดยวง Civic Orchestra of Chicago อำนวยเพลงโดย Michael Morgan ผู้อำนวยเพลงชาวอเมริกัน ณ นครชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมษายน พ.ศ.2533 - บรรเลงโดย Japan Shinsei Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Naohiro Totsuka ผู้อำนวยเพลงชาวญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พฤศจิกายน พ.ศ.2534
  • 1987กลางคืนและรุ่งเช้าในสกลจักรวาล (Night and Morning in the Spheres) สำหรับวงออร์เคสตรา - บรรเลงโดย MSU Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Matthew Hazelwood ผู้อำนวยเพลงชาวอเมริกัน ณ Wharton Center for the Performing Arts รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา กุมภาพันธ์ พ.ศ.2531 - บรรเลงโดย Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Timm Tzschaschel ผู้อำนวยเพลงชาวเยอรมัน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมษายน พ.ศ.2534
  • โหมโรงจตุภูมิ (Jatubhumi Overture) สำหรับวงออร์เคสตรา. เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ สิงหาคม พ.ศ.2552
  • ปิยสยามินทร์ (Piyasayamintra) ซิมโฟนีสำหรับวงออร์เคสตรา นักร้องประสานเสียง นักร้องโซปราโนเดี่ยว และผู้อ่านบทกวี เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตุลาคม พ.ศ.2553 -บันทึกเสียงในชื่อชุด “บทเพลงสำหรับวงออร์เคสตรา ชุดที่ 1” ประพันธ์โดย ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร
  • แสงอรุณ (Sunlight) สำหรับวงออร์เคสตราเครื่องสาย เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย Sunrise Orchestra ณ งานเทศกาลดนตรี Tagum City Musikahan Festival เมือง Davao ประเทศฟิลิปปินส์ กรกฎาคม พ.ศ.2556 อำนวยเพลงโดย พูนโชค กุหลาบวงษ์ -บรรเลงโดย Sunrise Orchestra ณ Nanyang Girls’s High School ประเทศสิงคโปร์ มิถุนายน พ.ศ.2557 -บันทึกเสียงในชื่อชุด “Sunlight Moonlight” บรรเลงโดย Sunrise Orchestra
  • “จิตวิญญาณแห่งอาเซียน” สำหรับวงเปียโนควินเท็ต (Quintet for the Spirits of ASEAN) เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดยวง Pro Musica Ensemble ณ หอแสดงดนตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสยามสมาคม กรกฎาคม พ.ศ.2558 -บันทึกเสียงในชื่อชุด “The Spirits of ASEAN” for Piano Quintet บรรเลงโดยวง Pro Musica Ensemble สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • ซินโฟเนียสยามินทร์ (Sinfonia Siamindra) เป็นซิมโฟนิกโพเอ็ม เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงในคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2560 บรรเลงโดยวง Royal Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Charles Olivieri-Munroe ผู้อำนวยเพลงชาวแคนาดา
  • ซิมโฟนีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (Symphony of Rattanakosin) เป็นซิมโฟนีขนาดใหญ่ เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บันทึกเสียงในชื่อ “ซิมโฟนีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” บรรเลงโดยวงออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ -บรรเลงโดยวง Royal Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Michel Tilkin ผู้อำนวยเพลงชาวเบลเยียม กรกฎาคม พ.ศ.2561 -บรรเลงโดยวง Thailand Youth Orchestra ณ Alicante International Music Festival ณ เมือง Alicante, Teulada และ Torrevieja ประเทศสเปน อำนวยเพลงโดย อัครวัฒน์ ศรีณรงค์ สิงหาคม พ.ศ.2561
  • “มหาอาณาจักร” (The Empires) ซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงออร์เคสตรา เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดยวง Thailand Philharmonic Orchestra ในคอนเสิร์ตปิดเทศกาลดนตรีร่วมสมัยนานาชาติ The 14th Thailand International Composition Festival (TICF) อำนวยเพลงโดย Shinik Hahm ผู้อำนวยเพลงชาวเกาหลี-อเมริกัน ณ มหิดลสิทธาคาร (Prince Mahidol Hall) มหาวิทยาลัยมหิดล สิงหาคม พ.ศ.2561
  • เอเชียนยูโฟนี (Asian Euphony) สำหรับวงออร์เคสตราและเครื่องดนตรีเอเชีย 5 ชิ้น เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงในงานเทศกาล Multi Cultural Festival ณ เมือง Greeley รัฐ Colorado ประเทศสหรัฐอเมริกา อำนวยเพลงโดย Michael Alexander ตุลาคม 2561
  • ซิมโฟนีบดินทร (The Bodindra Symphony) เป็นซิมโฟนีขนาดใหญ่สำหรับวงออร์เคสตรา, นักร้องบาริโทน และวงขับร้องประสานเสียง เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย Royal Bangkok Symphony Orchestra ในคอนเสิร์ต ดุริยางค์นบประโคมประเลง การแสดงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2562อำนวยเพลงโดย Michel Tilkin ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2562
  • อารยธรรมแห่งอุษาคเนย์ (Civilizations of ASEAN) คอนแชร์โตสำหรับเครื่องดนตรีอาเซียนและ เชมเบอร์ออร์เคสตรา เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย CU Chamber Ensemble อำนวยเพลงโดย Michael Alexander ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 30 ตุลาคม 2562
  • สุวรรณภูมิเพรลูด (Suvarnabhumi Prelude) เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย Brass Ensemble of the Royal Concertgebouw Orchestra ณ มหิดลสิทธาคาร (Prince Mahidol Hall) มหาวิทยาลัยมหิดล 28 พฤศจิกายน 2562
  • ศรีวิชัย (Srivijaya) เป็นบทเพลงแรกจากเพลงชุด The Maritime Empires เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดย WIRO Ensemble ในคอนเสิร์ต Voice of Asia ณ Sejong Center for the Performing Arts กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ 1 พฤษภาคม 2563
  • “รุ่งอรุณฤดูใบไม้ผลิ” (The Dawn of Spring) ซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงออร์เคสตรา เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดยวง Princess Galyani Vadhana Institute of Music Youth Orchestra อำนวยเพลงโดย ดำริห์ บรรณวิทยกิจ เนื่องในโอกาสคอนเสิร์ตฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 45 ปีไทย-จีน ณ โรงละครแห่งชาติ มกราคม พ.ศ. 2563
  • “The Glorious Kingdom Symphony” (ซิมโฟนีหมายเลข 9) สำหรับวงออร์เคสตรา เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดยวง Royal Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Michel Tilkin ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19)
  • มหาอาณาจักรภาคพื้นสมุทร (The Maritime Empires) ซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงออร์เคสตรา เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้ -บรรเลงโดยวง Thailand Philharmonic Orchestra อำนวยเพลงโดย Olivier Ochanine ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล 9 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19)