คลิกที่นี่เพื่อสนทนา Facebook Logo

บทความ

การท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษด้านต้นทุนทางวัฒนธรรม โดย ชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย

#เล่าเรื่องร่วมสมัย

การท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษด้านต้นทุนทางวัฒนธรรม โดย ชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย เมื่อเร็วๆนี้ ทางสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษด้วยต้นทุนทางวัฒนธรรม ระหว่างสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานในพิธี โดยในงานมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดชลบุรี ระยอง สุโขทัย และเชียงราย มาร่วมจัดแสดงนิทรรศการผลงาน ทำให้ได้รู้จักกับกาแฟมะพร้าวของดีของชาวชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดชลบุรี ที่โดดเด่นเรื่องในการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยใช้มะพร้าว ซึ่งเป็น อัตลักษณ์ของชุมชนสร้างสรรค์เส้นทางการท่องเที่ยววิถีมะพร้าวได้อย่างน่าสนใจ โดยคุณณัฐกานต์ ประกอบธรรม (เกศ) และคุณ ดารณี (แหวว) โรจน์สกุลพานิช กล่าวว่า ชุมชนเริ่มทำกิจกรรมท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมภายในชุมชนตั้งแต่ปี 2555 โดยเริ่มจากบ้าน100 เสา ต่อมาในปี 2559 เริ่มขยายไปสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายในชุมชน โดยเริ่มจากเวลคัมดริ้งค์ ด้วยกาแฟมะพร้าวสูตรพิเศษที่คิดค้นจนได้รสชาติกลมกล่อมลงตัว จากนั้นจึงพานักท่องเที่ยวไปทัวร์ตามสวนมะพร้าว เพื่อชมการแปรรูปผลผลิตจากมะพร้าว ตอนกลางวันรับประทานเมนูแกงไก่กะลา เมนูขึ้นชื่อของชุมชนตะเคียนเตี้ย พร้อมด้วยน้ำมะพร้าวสด สำหรับเมนูกาแฟมะพร้าวนั้น ได้รับแรงบันดาลใจ จากการสนับสนุนขององค์การบริหารและพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.)และสำนักงานศิลปวัฒนธรรรมร่วมสมัย (สศร.)กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ลงพื้นที่มาให้คำแนะนำต่างๆ จากนั้นจึงเริ่มทดลองทำกาแฟมะพร้าว โดยใช้กะทิสดเป็นส่วนผสม ทำให้มีรสชาติกลมกล่อมนุ่มละมุนไม่เหมือนใคร กลายเป็นซิกเนเจอร์ของชุมชน ซึ่งเน้นจุดขายความเป็นชุมชนมะพร้าว

จุดเด่นของชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย คือความสดใหม่ของวัตถุดิบ หากเป็นไปได้ก็จะปอกเปลือกและคั้นกะทิสดภายในวันนั้นเลย เรียกได้ว่าถ้าจับเวลาตั้งแต่การแปรรูป ปรุงสดไปจนถึงพร้อมเสิร์ฟ ต้องไม่เกิน 3 ชั่วโมง เพราะเวลาและอุณหภูมิจะทำให้รสชาติเปลี่ยน เนื่องจากมะพร้าวของที่นี่เป็นมะพร้าวอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงในการปลูก น้ำมะพร้าวจึงมีคุณสมบัติหอมหวาน แต่ต้องอาศัยความชำนาญในการเลือกลูกมะพร้าวที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไปนัก ปัจจุบันมีผู้สนใจเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ยเพิ่มมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้จะรับจองทัวร์ท่องเที่ยววิถีมะพร้าว แต่ปัจจุบันผู้สนใจสามารถเดินทางมาเที่ยวชมและดื่มกาแฟมะพร้าวสูตรชุมชนตะเคียนเตี้ย ได้ทั้งวันเสาร์และ อาทิตย์ที่
ร้านกาแฟของชุมชน

สนใจติดตามข้อมูลและเช็คพิกัดชุมชนได้ที่ www.chumchontakiantia.com / เฟซบุ๊กสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และเฟซบุ๊ก ชุมชนตะเคียนเตี้ย

แชร์

บทความอื่นๆ

เรื่องสั้น ในทัศนะของ ขจรฤทธิ์ รักษา ศิลปินศิลปาธร ประจำปี 2551

ฟู้ดสไตลิสต์ (Food Stylist) อาจไม่ใช่คำใหม่ สำหรับคนไทยอีกต่อไป เพราะในปัจจุบัน ฟู้ดสไตลิสต์ คือตัวแปรสำคัญ ในเทรนด์การบริโภคอาหารจานสวย ท่ามกลางกระแสความนิยมที่กำลังพุ่งสูงขึ้น ในโลกการแข่งขันของธุรกิจด้านอาหาร

ลายบาติกร่วมสมัย ต่อยอด “ลมหายใจแห่งศิลปะบนผืนผ้า” เสน่ห์จากงานศิลปะบนผืนผ้าอันเกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในแต่ละท้องถิ่น

“เที่ยวหอศิลป์ร่วมสมัยฯ วิถีใหม่ แบบ 360 องศา” หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน Ratchadamnoen Contemporary Art Center